มาร่วมวางแผนการลงทุนกับนักลงทุนมือใหม่
ทุกคนน่าจะเคยตั้งเป้าหมายในแต่ละช่วงชีวิตกัน เช่น เราเรียนจบแล้วอยากจะไปทำงานอะไร อยากได้เงินเดือนเท่าไหร่ อยากใช้ชีวิตแบบไหน ถ้ามีครอบครัวก็คิดว่าจะส่งลูกเราเรียนโรงเรียนอะไร หรือถ้าใกล้เกษียณอาจจะคิดว่าหลังเกษียณอยากจะไปทำอะไรต่อดี
ที่จริงการตั้งเป้าหมายแบบนี้เป็นเรื่องที่ดีครับ แต่ว่าจะดีกว่าถ้าหากเรามีการวางแผนการเงินเพื่อรองรับเป้าหมายต่าง ๆ ควบคู่กันไปด้วย โดยเราอาจจะระบุเป้าหมายและเวลาในการบรรลุเป้าหมายไว้คร่าว ๆ เช่น เรียนจบแล้วอยากจะไปทำงานในบริษัทด้านการเงินการลงทุนซึ่งต้องมีใบอนุญาต ก็อาจจะวางแผนการอ่านหนังสือเพื่อไปสอบให้ผ่านภายในเวลา 1 ปี แล้วค่อยหางานที่ตัวเองอยากทำต่อไป หรือว่าจะส่งลูกเรียนในอีก 3 ปีข้างหน้าก็ต้องหาโรงเรียนที่เราคิดว่าดี และดูว่าโรงเรียนมีค่าเทอมเท่าไหร่เพื่อกันเงินไว้บางส่วน เป็นต้น
อาจจะดูเป็นเรื่องเล็กน้อยแต่ว่าแป็นพื้นฐานที่สำคัญเลยครับ เพราะการบันทึกค่าใช้จ่ายทำให้เรารู้ว่าจริง ๆ แล้วเราจ่ายเงินไปกับอะไร เท่าไหร่ และเหลือเงินเก็บในแต่ละเดือนแค่ไหน ถ้าเหลือมากก็สามารถแบ่งเงินมาออม หรือว่าลงทุนได้มาก ซึ่งจะมีผลให้เราบรรลุเป้าหมายได้มากด้วยครับ
ขั้นตอนนี้จะสอดคล้องกับขั้นตอนที่ 1 คือเราควรวางเป้าหมายให้เหมาะกับเงินออมที่เราเหลือในแต่ละเดือนด้วย เช่น เป้าหมายเกษียณ 12 ล้าน ถ้าเรามีรายได้เดือนละ 60,000 บาท และมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 40,000 บาท เท่ากับว่าเรามีเงินที่เหลือจะออมได้มากถึง 20,000 บาทต่อเดือนทีเดียว ถ้าสมมติว่าเงินเดือนเราเพิ่มปีละ 5% (ตัวเลขสมมติ) แล้วเราใช้เวลาลงทุน 20 ปี และได้ผลตอบแทนปีละ 8% พอครบ 20 ปีเราอาจจะมีเงินเกษียณมากกว่าที่คาดไว้โดยอาจจะมีเงินถึงประมาณ 17 ล้านบาทเลยทีเดียว
โดยการเลือกสินทรัพย์ควรสอดคล้องกันระหว่างความจำเป็นในการใช้เงิน กับช่วงเวลาในการลงทุนด้วยครับ เช่น กรณีเก็บเงินเพื่อเกษียณอาจจะมีเวลาลงทุนนาน เราอาจจะสามารถเลือกลงทุนในตราสารทุน (หุ้น กองทุนตราสารทุน) ในสัดส่วนที่มากได้ (จะเห็นได้ว่าเงินเกษียณมีความจำเป็นมาก แต่ระยะเวลาลงทุนนาน) แต่ถ้าระยะเวลาน้อยและมีความจำเป็นต้องใช้เงิน เช่น การเก็บเงินดาวน์บ้านภายในเวลา 2 ปี อาจจะเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ไม่ผันผวนและมีสภาพคล่องในสัดส่วนมากกว่า เป็นต้น ทั้งนี้เพราะสินทรัพย์แต่ละประเภทสร้างผลตอบแทนให้เราได้ไม่เท่ากันนั่นเอง
ถามตัวเองว่าเป็นนักลงทุนแบบไหน ?
นักลงทุนสายพื้นฐาน หรือ VI จะเน้นการดูพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นเป็นหลัก เช่น ธุรกิจของบริษัท, งบการเงิน, Common Size, อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio), และการหามูลค่าที่แท้จริงของหุ้น (Fair Price)
โดยนักลงทุนสายพื้นฐาน (VI) จะวิเคราะห์ว่า
นักลงทุนสายเทคนิค (Technical) จะไม่สนใจพื้นฐานของหุ้น เช่น ธุรกิจ งบการเงิน รวมถึง มูลค่าหรือราคาที่แท้จริง (Fair Value)
นักลงทุนกลุ่มนี้จะดูเพียงแค่ปัจจัยทางเทคนิค (Technical) เป็นหลักในการตัดสินใจซื้อหรือขายหุ้น โดยไม่สนใจว่าหุ้นตัวนั้นมีราคาสูงหรือต่ำกว่าราคาพื้นที่แท้จริง (Fair Value)
ตัวอย่างปัจจัยทางเทคนิค (Technical) เช่น
นักลงทุนกลุ่มนี้จะดูทั้งปัจจัยพื้นฐาน (VI) เช่น ธุรกิจ, งบการเงิน, Common Size, อัตราส่วนทางการเงิน (Ratio), และหามูลค่าที่แท้จริง รวมทั้งดูปัจจัยทางเทคนิค (Technical) ควบคู่ไปด้วย เพราะสไตล์การลงทุนทั้งสองแบบจะช่วยส่งเสริมกัน ทำให้การเทรดหุ้นของเรามีประสิทธิภาพมากขึ้น
ถ้าเราซื้อหุ้นโดยดูปัจจัยพื้นฐาน (VI) เพียงอย่างเดียว ก็อาจจะทำให้เราซื้อหุ้นในราคาสูงได้ ถ้าเราเอาปัจจัยทางเทคนิค (Technical) มาช่วยก็จะทำให้เราหาจุดเข้าซื้อได้ดีขึ้น
จะเป็นรูปแบบการเทรดของผู้ที่ต้องการทำกำไรแบบรายวัน โดยจะใช้วิธีการซื้อและขายทำกำไรเสร็จภายในวันเดียวแบบ “สายซิ่ง” อาจจะเข้าซื้อและถือเป็นหลักนาทีหรือชั่วโมงแต่จะไม่ถือข้ามวัน นักเทรดในกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะรอขายทำกำไรในช่วงที่ตลาดคึกคักที่สุด สำหรับในบ้านเราก็คือช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นต้นไปที่ฝั่งนักลงทุนต่างชาติแถบอเมริกาและยุโรปมีการซื้อขายหนาแน่น